เปิดประวัติ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ที่สืบสานกันมาแต่โบราณ

ประเพณีแห่เทียนพรรษา ได้มีการสืบสานวัฒนาธรรมนี้มาตั้งอดีต ที่ยังมีการจัดขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ครับ บทควมมนี้เราจะมาช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ประเพณีการแห่เทียนพรรษา ที่เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนอาจอยากได้คำตอบกันอยู่ในตอนนี้

ความเป็นมาของ ประเพณีแห่เทียนพรรษา

อันเนื่องจากในสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงได้ทำการหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ใช้จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ เป็นพุทธบูชาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งการนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านนั้นก็มักจะจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีมาจนปัจจุบัน

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

โดยชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ต่างได้พากันทำเทียนเพื่อใช้จุดบูชาพระรัตนตรัย โดยมีการนำรังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง หลังจากนั้นฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ ให้มีความยาวตามต้องการ อย่างเช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอก แล้วนำไปใช้จุดบูชาพระ

“เทียนพรรษา” นั้นได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยที่ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไปถวายแด่พระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองนั้นเป็นผู้เฉลียวฉลาด และมีไหวพริบ เปรียบประดุจแสงสว่างของดวงเทียน

การถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ

1. พระอนุรุทธะ : ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม และฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เป็นเพราะว่าในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

2. หญิงคนหนึ่ง : ได้ไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอถึงพลบค่ำก็ได้ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตนมาจุดให้แสงสว่างแก่คนที่เดินทางมาฟังธรรม ครั้นเมื่อนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีกลายเป็นแสงสว่างสวยงาม

ประเพณีการถวายเทียนจำนำพรรษาในประเทศไทย

การถวายเทียนพรรษา ได้มีขึ้นก่อนที่จะเข้าเทศกาลเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาทุกปี ซึ่งก็คือก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือเดือน 8 ที่สอง ส่วนในกรณีที่มีอธิกมาส บรรดาพุทธศาสนิกชนต่างพากันขวนขวายให้มีการถวายเทียนจำนำพรรษาแก่วัดที่อยู่ในท้องถิ่นของตน เพื่อให้พระสงฆ์ได้จุดบูชาพระรัตนตรัย เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

สำหรับการถวายเทียนพรรษา จะเป็นการถวายเทียนเข้าพรรษาของประชาชนล้านนาไทย และได้มีการวิวัฒนาการมาเป็นตามลำดับ เริ่มจากการนำเอารังผึ้งมาต้มแล้วเอาขี้ผึ้งไปฟั่น ให้กลายเป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ โดยเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มาทำการมัดรวมกันให้เป็นลำต้นคล้าย ๆ กับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ นั่นเองครับ จากนั้นจึงนำไปติดกับฐาน

ซึ่งการที่มัดรวมกันในลักษณะนี้ ได้กลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นิยมเรียกว่า “ต้นเทียน” หรือ”ต้นเทียนพรรษา” และได้นิยมทำกันมาช้านานแล้ว เรียกว่าถวาย “ผะติ๊ดเทียนไฟ” แต่จะเป็นการทำถวายกันเป็นส่วนตัว พอถึงเวลาก็จะพาลูกหลานภายในครอบครัวไปถวาย ซึ่งไม่ได้ทำกันเอิกเกริกเป็นส่วนรวม ดังเช่นที่ทำกันในภาคเหนือ หรือ ภาคอีสานปัจจุบันนี้ครับ

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

สมัยก่อนเทียนพรรษามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะพระสงฆ์ต้องใช้จุดให้แสงสว่างในการศึกษาพระธรรมวินัย แต่ในปัจจุบันนั้นเทียนพรรษาอาจจะมีความสำคัญลดน้อยไป ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้เปลี่ยนมาถวายหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย เป็นต้นแทน แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีการถวายเทียนพรรษากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชาวพุทธไม่ให้สูญหายไป

เทียนเข้าพรรษา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.เทียนหลวง หมายถึง เทียนที่ทำเป็นขนาดใหญ่ โดยจะมีความสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 8 นิ้ว

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

2.เทียนน้อย หมายถึง เทียนขนาดเล็ก คือมีขนาดที่โตกว่าเทียนไขธรรมดาเพียงเล็กน้อย แต่ก็จัดว่ามีขนาดใหญ่กว่าแบบปกติครับ

ซึ่งการถวายเทียนพรรษานั้น เป็นประเพณีหนึ่งของชาวล้านนาที่มักนิยมทำกัน นอกจากเรื่องหวังให้เกิดบุญและเกิดกุศลแล้ว ยิ่งถ้าทำเทียนใหญ่ก็ย่อมก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ ดังนั้นจึงสมควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีแห่เทียนนี้ไว้ให้คงมีต่อไป อย่าให้เสื่อมสูญ

ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร

ประเพณีหลวง เรียกอย่างเป็นทางการว่า “การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา” โดยประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยตัวพระองค์เอง และทรงเสด็จพระราชดำเนินมาจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพาะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นพระองค์ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์เอง

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประเพณีราษฎร จะเรียกกันว่า “เทียนจำนำพรรษา” หรือ “เทียนพรรษา” โดยประเพณีนี้ประชาชนจะเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษาเอง ปัจจุบันเทียนพรรษานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ซึ่งก็คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ และ เทียนพรรษาแบบที่จุดไม่ได้ สำหรับเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กที่ใส่ไว้เพื่อกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น

ประเพณีการแห่เทียนจำนำพรรษานี้ เป็นประเพณีที่ได้ถือปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทยเราครับ แต่ที่ทำกันเป็นประเพณีใหญ่โตที่สุด ก็คือ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีการแกะสลักต้นเทียนพรรษษ กันอย่างสวยงาม แถมยังมีการจัดประกวดแข่งขันก่อนแก่ไปถวายตามวัดต่างๆ นั่นเองครับ สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด คงต้องขอตัวลากันไปก่อน บทความหน้าเราจะพาไปเที่ยวกันต่อที่ไหน รอติดตามชมกันได้เลย สวัสดีครับ

Scroll to Top